บุกหลังเวที! ส่องฟันเฟืองเบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของ เดอะ ไลอ้อน คิง มิวสิคัล อันดับ 1
เรื่องราวสุดคลาสสิคที่ประทับใจผู้ชมตลอดกาล นับตั้งแต่ภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่ออกฉายในปี 1994 สู่ละครเวทีสุดอลังการที่ตราตรึงใจผู้ชมในปี 1997
ณ วันนี้ เดอะ ไลอ้อน คิง คือ มิวสิคัล อันดับ 1 ของโลก ที่โลดแล่นเปิดการแสดงสะกดสายตาผู้ชมทั่วโลกมาแล้วกว่า 21 ปี มีผู้ชมมากกว่า 100 ล้านคน และยังคงเดินหน้าเปิดการแสดงไปทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง
หัวใจหลักแห่งความสำเร็จของมิวสิคัลเรื่องนี้ คือ วิธีการถ่ายทอดเรื่องราวความประทับใจจากภาพยนตร์ แอนิเมชั่นสู่การแสดงบนเวที โดยฝีมืออันน่ายกย่องของทีมงานที่สามารถเนรมิตเหล่าสัตว์น้อยใหญ่ ในทุ่งสะวันนาให้มีชีวิตชีวาออกมาโลดแล่นอยู่บนเวที ผ่านการสวมบทบาทของบรรดานักแสดงมากฝีมือ ที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวสำคัญให้ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ
แต่ก่อนที่ชาวไทยจะได้สัมผัสความยิ่งใหญ่ของ เดอะ ไลอ้อน คิง มิวสิคัล ในเดือนกันยายนนี้ ที่โรงละคร เมืองไทยรัชดาลัย เธียร์เตอร์ เราขอพาไปรู้จักฟันเฟืองสำคัญที่อยู่เบื้องหลัง ความสำเร็จของมิวสิคัลเรื่องนี้
โอมาร์ โรดริเกรซ (Omar Rodriguez) ผู้กำกับการแสดงได้อธิบายภาพรวมว่า “ผู้ชมจะได้เห็นนักแสดง ที่มาพร้อมหน้ากากและหุ่นเชิด โดยนักแสดงจะถ่ายทอดความเป็นมนุษย์ให้กับตัวละคร ส่วนหุ่นเชิดจะทำให้ผู้ชมได้เห็นในส่วนที่เป็นสัตว์ ในการแสดงผู้ชมจะได้เห็นทั้งสองด้านเสมอ มันคือเอกลักษณ์โดดเด่นที่ทำให้ เดอะ ไลอ้อน คิง แตกต่างจากละครเวทีเรื่องอื่นๆ”
ทิม ลูคัส (Tim Lucas) หัวหน้าฝ่ายหน้ากากและหุ่น กล่าวว่า “การแสดงชุดนี้ ใช้หุ่นทั้งหมด 250 ชิ้น ทั้งที่เป็นหุ่นมือ หุ่นเชิด และหุ่นเงา ซึ่งควบคุมโดยตัวนักแสดงเอง รวมถึงหน้ากากที่นักแสดงสวมไว้บนหัวด้วย โดยมีหุ่นที่หนักที่สุดคือ พุมบ้า (Pumbaa) ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัม และยังมีหุ่นที่ใหญ่ที่สุด คือ เบอร์ธา (Bertha) ช้างตัวใหญ่ที่ต้องใช้คนเชิดถึง 4 คน ในส่วนของหน้ากากนั้น ก็ทำมาจากเส้นใยคาร์บอน และขนสัตว์จริงๆ เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติ
โอมาร์ โรดริเกรซ กล่าวเสริมว่า “ในการออกแบบหน้ากากของ มุฟาซา (Mufasa) ราชาแห่งผืนป่า จะเป็นรูปทรงกลมที่มีความสมมาตร ซึ่งแสดงถึงมงกุฏของเขาด้วย เพราะเขาเป็นราชา นอกจากนั้นยังมี สการ์ (Scar) ผู้เป็นน้องชาย หน้ากากของเขาใช้รูปทรงที่ไม่สมมาตร ผู้ชมจะเห็นได้ว่ามันมีหลายเหลี่ยมมาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบุคลิกที่แปลกแยกของเขา ทั้งความเสียใจ วิธีการเคลื่อนไหวที่เหมือนงู และเขาก็มีพฤติกรรมแบบนั้นด้วย อีกทั้งยังมี ซาราบิ (Sarabi) ราชินี รวมถึงเจ้าชาย ซิมบ้า (Simba) ที่เราจะเห็นในฉากเปิดของการแสดง ซึ่งเป็นหุ่นที่มีกลไกพิเศษทำให้หัว แขน และขาขยับได้ นอกจากนี้ ซาซู (Zazu) ก็เป็นหนึ่งในตัวละครที่มีกลไกที่ซับซ้อนที่สุดของการแสดง โดยใช้มือขวาควบคุมตา จงอยปาก หัว และคอ มือซ้ายควบคุมปีก ซึ่งนักแสดงจะเชื่อมโยงกับหุ่นเสมอเพื่อให้ดูสมจริงและมีชีวิต”
นอกจากในส่วนของหน้ากากและหุ่นเชิดแล้ว อีกทีมหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการสร้างสีสันให้การแสดง คือ ทีมช่างทำผมและช่างแต่งหน้า โดย เฮทเธอร์ - เจ รอส (Heather - Jay Ross) หัวหน้าฝ่ายช่างทำผมและแต่งหน้า ได้เล่าให้ฟังว่า
“ก่อนเริ่มการแสดง เรามีนักแสดงหลักที่ต้องแต่งหน้า 4 คน รวมนาล่า (Nala) และซิมบ้า (Simba) ตอนเด็กด้วย รวมเป็น 6 คน นอกจากนี้ ยังมีนักแสดงประกอบที่เราต้องทำลวดลายบนตัวให้ทุกคนด้วย หลังองก์แรกเล่นไปได้ครึ่งหนึ่ง เราจะต้องแต่งหน้านักแสดงหลักอีก 4 คน เพื่อเตรียมแสดงในองก์ที่ 2 ดังนั้นนักแสดงหลักที่จะต้องแต่งรวมทั้งหมด 10 คน ซึ่งค่อนข้างใช้เวลา สำหรับนักแสดงประกอบเราจะทำการแปลงโฉมอย่างรวดเร็ว บางคนใช้เวลาประมาณ 5 นาทีก่อนเริ่มแสดง บางคนใช้เวลา 10-30 วินาทีเท่านั้น
สำหรับคนที่ต้องใช้เวลาแต่งนานที่สุดคือ ซาซู (Zazu) เพราะเราต้องใส่วิกและหมวกด้วย เราต้องแต่งส่วนหูและหลังคอให้เสร็จ และในทางเทคนิคแล้วมันเป็นการแต่งหน้าที่ยากที่สุดด้วยเพราะการเกลี่ยเครื่องสำอางค์นั้น มันพลาดได้ง่ายมาก เมื่อสีน้ำเงินผสมกับสีขาวตรงนั้นจะกลายเป็นพื้นที่หายนะทันที เป็นงานที่ใช้เทคนิคเยอะที่สุด ในเวลาที่น้อยมาก การแต่งหน้าสการ์ (Scar) ก็เช่นกัน เพราะเขามีองค์ประกอบและส่วนต่างๆ เยอะมาก ทั้งคิ้วและการเกลี่ยเบส นั่นคือการแต่งหน้าที่ยากจริงๆ สิ่งที่ทุกคนจดจำจากการแสดงคือ การแต่งหน้าของสการ์เพราะมันโดดเด่นมาก ส่วนการแต่งหน้า ราฟิกิ (Rafiki) จริงๆ ตัวละครในแอนิเมชั่นจะเป็นชาย แต่ในการแสดงนี้เป็นตัวละครหญิง เราจึงมีการใช้อายไลเนอร์ ลิปสติก และแต่งหน้าโดยอิงจากคอนเซ็ปต์ใหม่ของตัวละคร สำหรับละครเวทีเรื่องนี้โดยเฉพาะ
นักแสดงนำ คือหัวใจหลักที่ถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้สึก และสื่ออารมณ์ของตัวละครไปสู่ผู้ชม สำหรับนักแสดง เดอะ ไลอ้อน คิง พวกเขาต้องฝึกซ้อมอย่างหนัก ไม่ใช่แค่เรื่องแสดงและร้องเพลงเท่านั้น แต่พวกเขาต้องทำความคุ้นเคยและเรียนรู้การเชิดหุ่น ซึ่งเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก และต้องใช้เวลาในการฝึกฝนค่อนข้างนาน เพื่อให้นักแสดงเป็นหนึ่งเดียวกับตัวละครนั้นๆ ที่ไม่ใช่แค่คนกับหุ่นหรือหน้ากาก แต่เป็นตัวละครตัวนั้นจริงๆ
นิค เมอร์เซอร์ (Nick Mercer) ผู้รับบท ทีโมน (Timon) เมียร์แคทผู้แสนเฉลียวฉลาด ในการแสดง เดอะ ไลอ้อน คิง เขาต้องใช้ความสามารถทั้งการแสดง การร้อง และการเชิดหุ่นที่ทำให้ตัวเขาและหุ่นกลมกลืน เป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งเขาสามารถถ่ายทอดบทบาทของตัวละครทีโมนออกมาได้อย่างชัดเจน ทำให้ผู้ชมสนุกและหัวเราะไปกับเขาได้ตลอดการแสดง นิค กล่าวว่า “ผมเล่นเป็นทีโมนมาแล้วถึง 6 ปี แสดงมาแล้วมากกว่า 2,500 รอบ ผมรักในการแสดง ผมดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของละครเวทีเรื่องนี้ และมีความสุขมากที่ได้สัมผัสกับคนดู ได้ออกไปแสดงให้พวกเขาได้ชมในทุกๆ สัปดาห์ มันไม่เคยเก่าเลยสำหรับผม ผมคิดว่านี่คือจุดแข็งของละครเวทีเรื่องนี้ มันคือความมหัศจรรย์ ซึ่งมันแตกต่างจากแอนิเมชั่นอย่างสิ้นเชิง และไม่มีละครเวทีเรื่องไหนโดดเด่น เหมือน เดอะ ไลอ้อน คิง”
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของละครเวที THE LION KING เท่านั้น ห้ามพลาด กับสุดยอดการแสดงที่ทั่วโลกรอคอย ไปร่วมพิสูจน์ด้วยตัวเองได้ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายนนี้เป็นต้นไปที่ โรงละคร เมืองไทยรัชดาลัย เธียร์เตอร์ สามารถซื้อบัตรได้ที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์
หัวใจหลักแห่งความสำเร็จของมิวสิคัลเรื่องนี้ คือ วิธีการถ่ายทอดเรื่องราวความประทับใจจากภาพยนตร์ แอนิเมชั่นสู่การแสดงบนเวที โดยฝีมืออันน่ายกย่องของทีมงานที่สามารถเนรมิตเหล่าสัตว์น้อยใหญ่ ในทุ่งสะวันนาให้มีชีวิตชีวาออกมาโลดแล่นอยู่บนเวที ผ่านการสวมบทบาทของบรรดานักแสดงมากฝีมือ ที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวสำคัญให้ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ
แต่ก่อนที่ชาวไทยจะได้สัมผัสความยิ่งใหญ่ของ เดอะ ไลอ้อน คิง มิวสิคัล ในเดือนกันยายนนี้ ที่โรงละคร เมืองไทยรัชดาลัย เธียร์เตอร์ เราขอพาไปรู้จักฟันเฟืองสำคัญที่อยู่เบื้องหลัง ความสำเร็จของมิวสิคัลเรื่องนี้
โอมาร์ โรดริเกรซ (Omar Rodriguez) ผู้กำกับการแสดงได้อธิบายภาพรวมว่า “ผู้ชมจะได้เห็นนักแสดง ที่มาพร้อมหน้ากากและหุ่นเชิด โดยนักแสดงจะถ่ายทอดความเป็นมนุษย์ให้กับตัวละคร ส่วนหุ่นเชิดจะทำให้ผู้ชมได้เห็นในส่วนที่เป็นสัตว์ ในการแสดงผู้ชมจะได้เห็นทั้งสองด้านเสมอ มันคือเอกลักษณ์โดดเด่นที่ทำให้ เดอะ ไลอ้อน คิง แตกต่างจากละครเวทีเรื่องอื่นๆ”
ทิม ลูคัส (Tim Lucas) หัวหน้าฝ่ายหน้ากากและหุ่น กล่าวว่า “การแสดงชุดนี้ ใช้หุ่นทั้งหมด 250 ชิ้น ทั้งที่เป็นหุ่นมือ หุ่นเชิด และหุ่นเงา ซึ่งควบคุมโดยตัวนักแสดงเอง รวมถึงหน้ากากที่นักแสดงสวมไว้บนหัวด้วย โดยมีหุ่นที่หนักที่สุดคือ พุมบ้า (Pumbaa) ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัม และยังมีหุ่นที่ใหญ่ที่สุด คือ เบอร์ธา (Bertha) ช้างตัวใหญ่ที่ต้องใช้คนเชิดถึง 4 คน ในส่วนของหน้ากากนั้น ก็ทำมาจากเส้นใยคาร์บอน และขนสัตว์จริงๆ เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติ
โอมาร์ โรดริเกรซ กล่าวเสริมว่า “ในการออกแบบหน้ากากของ มุฟาซา (Mufasa) ราชาแห่งผืนป่า จะเป็นรูปทรงกลมที่มีความสมมาตร ซึ่งแสดงถึงมงกุฏของเขาด้วย เพราะเขาเป็นราชา นอกจากนั้นยังมี สการ์ (Scar) ผู้เป็นน้องชาย หน้ากากของเขาใช้รูปทรงที่ไม่สมมาตร ผู้ชมจะเห็นได้ว่ามันมีหลายเหลี่ยมมาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบุคลิกที่แปลกแยกของเขา ทั้งความเสียใจ วิธีการเคลื่อนไหวที่เหมือนงู และเขาก็มีพฤติกรรมแบบนั้นด้วย อีกทั้งยังมี ซาราบิ (Sarabi) ราชินี รวมถึงเจ้าชาย ซิมบ้า (Simba) ที่เราจะเห็นในฉากเปิดของการแสดง ซึ่งเป็นหุ่นที่มีกลไกพิเศษทำให้หัว แขน และขาขยับได้ นอกจากนี้ ซาซู (Zazu) ก็เป็นหนึ่งในตัวละครที่มีกลไกที่ซับซ้อนที่สุดของการแสดง โดยใช้มือขวาควบคุมตา จงอยปาก หัว และคอ มือซ้ายควบคุมปีก ซึ่งนักแสดงจะเชื่อมโยงกับหุ่นเสมอเพื่อให้ดูสมจริงและมีชีวิต”
นอกจากในส่วนของหน้ากากและหุ่นเชิดแล้ว อีกทีมหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการสร้างสีสันให้การแสดง คือ ทีมช่างทำผมและช่างแต่งหน้า โดย เฮทเธอร์ - เจ รอส (Heather - Jay Ross) หัวหน้าฝ่ายช่างทำผมและแต่งหน้า ได้เล่าให้ฟังว่า
“ก่อนเริ่มการแสดง เรามีนักแสดงหลักที่ต้องแต่งหน้า 4 คน รวมนาล่า (Nala) และซิมบ้า (Simba) ตอนเด็กด้วย รวมเป็น 6 คน นอกจากนี้ ยังมีนักแสดงประกอบที่เราต้องทำลวดลายบนตัวให้ทุกคนด้วย หลังองก์แรกเล่นไปได้ครึ่งหนึ่ง เราจะต้องแต่งหน้านักแสดงหลักอีก 4 คน เพื่อเตรียมแสดงในองก์ที่ 2 ดังนั้นนักแสดงหลักที่จะต้องแต่งรวมทั้งหมด 10 คน ซึ่งค่อนข้างใช้เวลา สำหรับนักแสดงประกอบเราจะทำการแปลงโฉมอย่างรวดเร็ว บางคนใช้เวลาประมาณ 5 นาทีก่อนเริ่มแสดง บางคนใช้เวลา 10-30 วินาทีเท่านั้น
สำหรับคนที่ต้องใช้เวลาแต่งนานที่สุดคือ ซาซู (Zazu) เพราะเราต้องใส่วิกและหมวกด้วย เราต้องแต่งส่วนหูและหลังคอให้เสร็จ และในทางเทคนิคแล้วมันเป็นการแต่งหน้าที่ยากที่สุดด้วยเพราะการเกลี่ยเครื่องสำอางค์นั้น มันพลาดได้ง่ายมาก เมื่อสีน้ำเงินผสมกับสีขาวตรงนั้นจะกลายเป็นพื้นที่หายนะทันที เป็นงานที่ใช้เทคนิคเยอะที่สุด ในเวลาที่น้อยมาก การแต่งหน้าสการ์ (Scar) ก็เช่นกัน เพราะเขามีองค์ประกอบและส่วนต่างๆ เยอะมาก ทั้งคิ้วและการเกลี่ยเบส นั่นคือการแต่งหน้าที่ยากจริงๆ สิ่งที่ทุกคนจดจำจากการแสดงคือ การแต่งหน้าของสการ์เพราะมันโดดเด่นมาก ส่วนการแต่งหน้า ราฟิกิ (Rafiki) จริงๆ ตัวละครในแอนิเมชั่นจะเป็นชาย แต่ในการแสดงนี้เป็นตัวละครหญิง เราจึงมีการใช้อายไลเนอร์ ลิปสติก และแต่งหน้าโดยอิงจากคอนเซ็ปต์ใหม่ของตัวละคร สำหรับละครเวทีเรื่องนี้โดยเฉพาะ
นักแสดงนำ คือหัวใจหลักที่ถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้สึก และสื่ออารมณ์ของตัวละครไปสู่ผู้ชม สำหรับนักแสดง เดอะ ไลอ้อน คิง พวกเขาต้องฝึกซ้อมอย่างหนัก ไม่ใช่แค่เรื่องแสดงและร้องเพลงเท่านั้น แต่พวกเขาต้องทำความคุ้นเคยและเรียนรู้การเชิดหุ่น ซึ่งเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก และต้องใช้เวลาในการฝึกฝนค่อนข้างนาน เพื่อให้นักแสดงเป็นหนึ่งเดียวกับตัวละครนั้นๆ ที่ไม่ใช่แค่คนกับหุ่นหรือหน้ากาก แต่เป็นตัวละครตัวนั้นจริงๆ
นิค เมอร์เซอร์ (Nick Mercer) ผู้รับบท ทีโมน (Timon) เมียร์แคทผู้แสนเฉลียวฉลาด ในการแสดง เดอะ ไลอ้อน คิง เขาต้องใช้ความสามารถทั้งการแสดง การร้อง และการเชิดหุ่นที่ทำให้ตัวเขาและหุ่นกลมกลืน เป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งเขาสามารถถ่ายทอดบทบาทของตัวละครทีโมนออกมาได้อย่างชัดเจน ทำให้ผู้ชมสนุกและหัวเราะไปกับเขาได้ตลอดการแสดง นิค กล่าวว่า “ผมเล่นเป็นทีโมนมาแล้วถึง 6 ปี แสดงมาแล้วมากกว่า 2,500 รอบ ผมรักในการแสดง ผมดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของละครเวทีเรื่องนี้ และมีความสุขมากที่ได้สัมผัสกับคนดู ได้ออกไปแสดงให้พวกเขาได้ชมในทุกๆ สัปดาห์ มันไม่เคยเก่าเลยสำหรับผม ผมคิดว่านี่คือจุดแข็งของละครเวทีเรื่องนี้ มันคือความมหัศจรรย์ ซึ่งมันแตกต่างจากแอนิเมชั่นอย่างสิ้นเชิง และไม่มีละครเวทีเรื่องไหนโดดเด่น เหมือน เดอะ ไลอ้อน คิง”
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของละครเวที THE LION KING เท่านั้น ห้ามพลาด กับสุดยอดการแสดงที่ทั่วโลกรอคอย ไปร่วมพิสูจน์ด้วยตัวเองได้ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายนนี้เป็นต้นไปที่ โรงละคร เมืองไทยรัชดาลัย เธียร์เตอร์ สามารถซื้อบัตรได้ที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์